ความอ่อนน้อมถ่อมตน คุณสมบัติที่นายก และผู้นำที่ดีควรมี แต่กลับไม่ค่อยมีใครนึกถึง...

 
สื่อใหญ่ในแวดวงธุรกิจการเงินอย่าง Forbes ได้นำเสนอประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับบทบาทของความเป็นนำในองค์กรธุรกิจ ซึ่งน่าจะหมายรวมถึงบทบาทของผู้นำประเทศอย่าง นายกรัฐมนตรี ได้ด้วย โดยเรื่องราวมันเป็นอย่างนี้
เมื่อองค์กรธุรกิจ ตัดสินใจจ้างพนักงานระดับหัวหน้าฝ่ายหรือหัวหน้าแผนกเข้ามาร่วมงาน มักจะมองข้ามประเด็นเรื่องลักษณะนิสัยที่สำคัญของผู้นำที่ดี นั่นก็คือความ "ความอ่อนน้อมถ่อมตน"
มันน่าแปลกไหมหล่ะ ทำไมผู้นำหรือหัวหน้าที่ดีต้อง อ่อนน้อมถ่อมตน?
แน่นอนว่า ลักษณะนิสัย อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ใช่ลักษณะเด่นของผู้นำหลายคนในโลกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น สตีฟ จอบส์, เจฟฟ์ เบโซส์, อีลอน มัสก์ หรือ บิล เกตส์
วิสัยทัศน์ ความกล้าหาญ ความมีเสน่ห์ สิ่งเหล่านี้เป็นคุณลักษณะเด่นของผู้นำองค์กรธุรกิจระดับโลกที่เรารับรู้ ส่วนเรื่องความ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความละวางอัตตา ไม่ยึดถือตัวเองเป็นใหญ่ คุณสมบัติเหล่านี้มักไม่ถูกพูดถึง

แต่อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจ!

มีงานวิจัยจำนวนมากที่สรุปว่า ผู้นำที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน นั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าในการเป็นผู้นำ เพราะเขาจะสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมงาน และเอาใจใส่ลูกน้องทุกคน (รวมถึงตัวเองด้วย) เพื่อนำพาทุกคนไปสู่เป้าหมายขององค์กร ซึ่งหัวหน้าที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เข้าใจลูกน้อง จะทำในสิ่งเหล่านี้ได้ดีกว่าหัวหน้าหรือผู้นำที่ขาดในสิ่งนี้
กรณีตัวอย่าง: ผลการสำรวจจากบริษัทในอุตสากรรมซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ กว่า 105 แห่ง ที่มีการเผยแพร่ผ่านสื่อ Journal of Management ระบุว่า บริษัทที่ CEO (Chief Executive Officer หรือ ผู้บริหารสูงสุดขององค์กร) มีลักษณะของความนอบน้อม มีแนวโน้มที่จะทำให้ทีมงานมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า ทีมงานรวมกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว มีการร่วมงานที่ดี รวมถึงมีความยืดหยุ่นมากกว่าในการพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจ
รวมถึงบทความที่ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือ Good to Great ที่เขียนโดย Jim Collins มีการระบุว่า ลักษณะสำคัญ 2 ประการที่มีอยู่ใน CEO ที่สามารถนำพาองค์กรจากระดับธรรมดาๆ ไปสู่ความเป็นองค์กรระดับชั้นนำคือ : ความอ่อนน้อมถ่อมตน และความไม่ย่อท้อเพื่อสร้างความก้าวหน้าให้กับองค์กร
และผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Administrative Science Quarterly ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่า ในพนักงานระดับบริหาร ลักษณะทางบุคลิกภาพที่เกี่ยวข้องกับความอ่อนน้อมถ้อมตน อาทิ การน้อมรับ หรือขอร้องให้บุคคลอื่นคอมเมนต์ตัวเอง (Soliciting feedback) และการให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกน้อง จะช่วยทำให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้
ความอ่อนน้อมถ่อมตน คุณสมบัติที่นายก และผู้นำที่ดีควรมี แต่กลับไม่ค่อยมีใครนึกถึง...

เริ่มเห็นความสำคัญของการเป็นเจ้านายที่อ่อนน้อมถ่อมตนบ้างหรือยัง?

หัวหน้าที่อ่อนน้อม เข้าใจดีว่าตัวเองไม่ได้เป็นคนที่ฉลาดหรือเก่งที่สุดในบริษัท รวมถึงไม่พยายามแสดงออกว่าตัวเองเก่งที่สุด เขากระตุ้นให้พนักงานระดับล่างกล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น ยอมรับความเห็นต่าง และยกย่องไอเดียที่ดีที่สุดของลูกน้องโดยปราศจากอคติใด ไม่ว่าไอเดียนั้นจะมาจากพนักงานระดับล่าง หรือพนักงานระดับบริหารก็ตาม
หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ ผู้นำต้องรู้ว่าจะทำอย่างไรถึงจะได้สิ่งที่ดีที่สุดจากลูกน้อง
และเมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น ผู้นำที่ดีน้อมรับความผิดไว้กับตัวเอง และรับผิดชอบกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น แต่เมื่อประสบความสำเร็จ ผู้นำที่ดียกย่องให้เครดิตกับคนทำงาน
แต่ในบางครั้ง ความอ่อนน้อมถ่อมตน อาจถูกมองแง่ลบ เพราะผู้คนคนเอามันไปเชื่อมโยงกับ การยอมแพ้ หรือการเก็บเนื้อเก็บตัว (Introversion)
แต่การวิจัยทางจิตวิทยา บ่งบอกถึงสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อดังกล่าว และ ความอ่อนน้อมถ่อมตน นั้นมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดที่สุดกับกลุ่มของคุณสมบัติเชิงบวกอย่างสูง อาทิ ความจริงใจ ความพอประมาณ ความยุติธรรม ความไม่โอ้อวด และความถูกต้อง และคนที่อ่อนน้อมถ่อมตน นั้นไม่ได้หมายความว่าเขาจะไม่สามารถเป็นคนที่ เข้มแข็ง และกล้าหาญ
ในชีวิตจริงของการทำงาน เราอาจจะได้พบกับผู้นำหลายประเภท ผู้นำบางคนโกรธเกรี้ยวในสถานการณ์ที่คนอื่นๆ นิ่งเฉย ผู้นำบางคนมีความฉลาดเฉลี่ยว ผู้นำบางคนเป็นนักปฏิบัติ
แต่ไม่ว่าวิธีการของเหล่าผู้นำจะเป็นอย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้วเป้าหมายที่แท้จริงของการนำคนคือ การสร้างแรงบันดาลใจ ความไว้วางใจ ความร่วมมือ และสร้างความมุ่งมั่นให้แก่พนักงาน

ที่มา : www.forbes.com

ขอบคุณทีมา https://news.thaiware.com/16100.html


 โปรแกรมหวย richmantool

ไม่มีความคิดเห็น: