น่ากลัว.. หมอเผยภาพนิ่วจำนวนมาก ของคนไข้ปวดหลัง เยอะจนเรียงต่อเป็นคำได้

        หมอเผยภาพสุดน่ากลัว ผ่าตัดนิ่วจากไตคนไข้ พบมีจำนวนมากจนสามารถเรียกต่อเป็นคำว่า "นิ่ว" ได้ แนะคนไม่อยากเป็นโปรดดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วต่อวัน

       วันที่ 7 ตุลาคม 2562 มีรายงานว่า นายแพทย์ศิริอนันต์ ประสิทธิ์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษโรงพยาบาลยะลา แผนกศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ ได้มีการโพสต์รูปถ่ายผ่านเฟซบุ๊ก Sirianan Prasit เผยภาพนิ่วจำนวนมาก หลังผ่าตัดออกมาจากร่างกายของคนไข้ที่มีอาการปวดหลังเรื้อรัง พบว่ามีจำนวนมาก จนสามารถนำมาเรียงต่อกันได้คำว่า "นิ่ว"


       พร้อมกันนี้ คุณหมอได้ระบุข้อความว่า "ของกลางที่พบในคนไข้รายหนึ่ง หลังจากที่ต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการปวดหลังและอาการไตเสื่อม คงไม่ต้องบอกว่า......คืออะไร        นิ่วในไตใหญ่เบ้อเริ่ม

       ขอบคุณโครงการ #ก้าวคนละก้าว ที่นำเครื่องมือผ่าตัดนิ่ว มาสู่รพ.ยะลา

       Uro Yala Team"

       โดยโพสต์ดังกล่าวกลายเป็นที่พูดถึงอย่างมากหลังการโพสต์ได้ไม่นาน ซึ่งชาวโซเชียลจำนวนมาต่างพากันตื่นตัวกับโรคดังกล่าวอย่างมาก

       ทั้งนี้ นิ่วในไต และท่อไต เป็นผลมาจากหินปูนหรือเกลือแร่ต่าง ๆ เช่น แคลเซียม ออกซาเลต, แคลเซียม ฟอสเฟต, กรดยูริก และซีสเตอีนในปัสสาวะที่ตกตะกอน หรือตกผลึกขึ้นในไตแล้วสะสมรวมกันเป็นก้อนแข็งมีลักษณะคล้ายก้อนกรวดเรียกว่า นิ่ว

       หากนิ่วยังอยู่ในไตเรียกว่า โรคนิ่วในไต (kidney stone) แต่หากก้อนนิ่วหลุดลงมายังท่อไตเรียกว่า โรคนิ่วในท่อไต (ureteric stone) เนื่องจาก ไต เป็นอวัยวะที่มีหน้าที่หลัก คือ กรองของเสียที่อยู่ในเลือดและขับถ่ายออกนอกร่างกายทางปัสสาวะ โดยปัสสาวะจะไหลผ่านกรวยไตลงมาตามท่อไตเพื่อลงสู่กระเพาะปัสสาวะและขับออกนอกร่างกายทางท่อปัสสาวะ

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดนิ่ว ได้แก่..

       - ดื่มน้ำน้อยเกินไป หรืออยู่ในภาวะขาดน้ำ

       - พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีสารก่อนิ่วในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้แก่ อาหารที่มีโปรตีน เกลือ และน้ำตาลสูง

       - ภาวะน้ำหนักเกิน

       - มีโรคในระบบทางเดินปัสสาวะ และระบบทางเดินอาหาร เช่น ไตอักเสบ โรคหลอดเลือดในท่อไต ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ โรคลำไส้อักเสบ ท้องเสียเรื้อรัง โรคเกาต์

       - ปัจจัยทางพันธุกรรม คือ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนิ่วมาก่อน

อาการที่มักพบในผู้ป่วยโรคนิ่วในไตและท่อไต ได้แก่..

       - ปวดรุนแรงเป็นช่วง ๆ บริเวณข้างลำตัวและหลัง บางครั้งอาจปวดช่องท้องด้านล่างลงไปจนถึงขาหนีบ

       - ปวดขณะปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย น้ำปัสสาวะน้อยผิดปกติ

       - ปัสสาวะมีเลือดปน มีสีน้ำตาลหรือสีชมพู

       - คลื่นไส้ อาเจียน

       - มีไข้ หนาวสั่น

 

ขอขอบคุณ

ข้อมูล : https://health.kapook.com/view215601.html

ไม่มีความคิดเห็น: