เมื่อวานนี้ (28 ม.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ ประเภท 5 เฉพาะ กัญชง (Hemp)
ทั้งนี้ รัฐบาลกำลังผลักดัน กัญชงให้เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ เพราะมีคุณสมบัติเป็นยาบำรุงโลหิต ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สดชื่น และรักษาอาการปวดศีรษะและไมเกรน รวมถึงเปลือกและลำต้นยังเป็นเส้นใยได้ด้วย
ขณะที่เนื้อสามารถผลิตเป็นกระดาษได้และแกนต้นสามารถนำไปทำเป็นพลังงานชีวมวล เช่น แกนแอลกอฮอล์ เฟอร์นิเจอร์ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ออกกฎกระทรวง เพื่อแก้ไขกฎกระทรวงเดิมที่มีความเข้มงวดและไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งกฎหมายใหม่มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติในการสร้างรายได้และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและเป็นไปตามนโยบายเร่งด่วนของ ครม. ในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร
นอกจากนี้ น.ส.ไตรศุลี กล่าวต่อว่า ในขณะเดียวกันก็จะมีการวิจัยและพัฒนากัญชง เพื่อไปใช้ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ และอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น การทำยาสมุนไพร เครื่องสำอาง อาหาร เพราะมีสารสกัดเช่นเดียวกับกัญชา
ซึ่งสาระสำคัญของกฎกระทรวงดังกล่าวจะอนุญาตให้หน่วยงานทุกภาคส่วนที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลสามารถขออนุญาตปลูกกัญชงได้ โดยมีระยะเวลา 5 ปีนับตั้งแต่ที่กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ พร้อมทั้งอนุญาตให้ครัวเรือนสามารถปลูกกัญชงได้ครัวเรือนละไม่เกิน 1 ไร่ เพราะของเดิมเคยปลูกเพื่อนำไปทอผ้าเป็นสิ่งทออยู่แล้ว แต่จะต้องมีใบอนุญาตและปลูกในสายพันธุ์ที่รัฐกำหนดให้ ตามการพัฒนาสายพันธ์ุของกัญชงไทย
ขอขอบคุณ
ทั้งนี้ รัฐบาลกำลังผลักดัน กัญชงให้เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ เพราะมีคุณสมบัติเป็นยาบำรุงโลหิต ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สดชื่น และรักษาอาการปวดศีรษะและไมเกรน รวมถึงเปลือกและลำต้นยังเป็นเส้นใยได้ด้วย
ขณะที่เนื้อสามารถผลิตเป็นกระดาษได้และแกนต้นสามารถนำไปทำเป็นพลังงานชีวมวล เช่น แกนแอลกอฮอล์ เฟอร์นิเจอร์ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ออกกฎกระทรวง เพื่อแก้ไขกฎกระทรวงเดิมที่มีความเข้มงวดและไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งกฎหมายใหม่มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติในการสร้างรายได้และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและเป็นไปตามนโยบายเร่งด่วนของ ครม. ในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร
นอกจากนี้ น.ส.ไตรศุลี กล่าวต่อว่า ในขณะเดียวกันก็จะมีการวิจัยและพัฒนากัญชง เพื่อไปใช้ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ และอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น การทำยาสมุนไพร เครื่องสำอาง อาหาร เพราะมีสารสกัดเช่นเดียวกับกัญชา
ซึ่งสาระสำคัญของกฎกระทรวงดังกล่าวจะอนุญาตให้หน่วยงานทุกภาคส่วนที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลสามารถขออนุญาตปลูกกัญชงได้ โดยมีระยะเวลา 5 ปีนับตั้งแต่ที่กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ พร้อมทั้งอนุญาตให้ครัวเรือนสามารถปลูกกัญชงได้ครัวเรือนละไม่เกิน 1 ไร่ เพราะของเดิมเคยปลูกเพื่อนำไปทอผ้าเป็นสิ่งทออยู่แล้ว แต่จะต้องมีใบอนุญาตและปลูกในสายพันธุ์ที่รัฐกำหนดให้ ตามการพัฒนาสายพันธ์ุของกัญชงไทย
ขอขอบคุณ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น